Sunday, September 16, 2018

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”
การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์
ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1
กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ

"กฤษฏา"จ่อเปิดเวที4ภาคถกใช้3สารเคมีก่อนออกกฎคุม

"กฤษฏา" เตรียมเปิดเวทีรับฟัง4 ภาค ปลายเดือนนี้ ก่อนออกประกาศระเบียบควบคุมจำกัดการใช้3สารเคมี
Image result for สารเคมี

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าหลังจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติจำกัดการใช้สารเคมีวัตถุอันตราย กำจัดศัตรูพืช 3 สาร พาราควอต คอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต โดยให้กรมวิชาการเกษตร เสนอวิธีจำกัดการใช้ควบคุมการนำเข้า โดยตนได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร ไปทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทั้งเกษตรกรและเอ็นจีโอ ทั้ง4 ภาคของประเทศ ซึ่งการเปิดเวทีต้องทำโดยเปิดเผยและเปิดรับทุกกลุ่มเข้ามาเพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมากที่สุด ไม่ให้เหมือนที่ผ่านมาที่ทำเพียงในเว็ปไซส์เท่านั้น

 รมว.เกษตรฯกล่าวว่าเมื่อได้ข้อสรุปจากทุกเวที และนำมาออกระเบียบข้อจำกัดต่างๆ จะนำมาให้รมว.เกษตรฯออกประกาศระเบียบการใช้สารเคมี 3 ชนิดนี้ ทั้งลดโควต้านำเข้า วิธีใช้การอบรมเกษตรกร ก่อนออกใบอนุญาตให้ซื้อได้  ในปลายเดือนนี้ จะเริ่มเวที ครั้งนี้ไปพบกับทุกฝ่ายและเป็นการเปิดมติใหม่ในการรับฟัง ทั้งนี้จะนำร่างออกระเบียบประกาศกระทรวงว่าด้วยในสาระการใช้เคมีภัณฑ์ ในเบื้องต้นไปเปิดเผยให้ทุกกลุ่มทราบก่อนด้วย

กษ."สอบเส้นทางเงิน"ผู้บริหาร" เอี่ยว"พ่อค้า"สารเคมี


"จ่อสอบเส้นทางการเงิน ข้าราชการระดับสูง กระทรวงเกษตรฯเอี่ยวอนุญาตนำเข้า3สารพิษ ปูดค่าใบอนุญาตมากกว่า 7 หลักต่อใบ พร้อมให้หัวคิวลิตรละ1 บาท "
Image result for ผัก

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกรณีมีกระแสโจมตีผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ เรื่องรับผลประโยชน์จากกลุ่มพ่อค้านำเข้าสารเคมีวัตถุอัตราย 3 ชนิดใช้กำจัดศัตรูพืชและโรคแมลง พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จึงไม่เสนอแบนสารเคมี 3 ตัวดังกล่าว ว่า ประเด็นดังกล่าวจะมีการตรวจสอบเส้นการเงินข้าราชการระดับผู้บริหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และอดีตผู้บริหาร หลังจากเครือข่ายเอกชน สนับสนุนการแบน3 สารพิษ จะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีข้อครหากระทรวงเกษตรฯ มาต่อเนื่อง ในเรื่องผลประโยชน์ว่ามีการเรียกรับเงินมากว่า 7 หลัก ค่าใบอนุญาตต่างๆ โดยพ่อค้ายังจ่ายหัวคิว ลิตรละ1 บาท ทั้งนี้จากสถิตินำเข้าสารเคมี ปีละ 4-5 หมื่นตัน.

หมอค้านอุ้มใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร


"ศ.นพ.ธีระวัฒน์"ซัดมติคกก.วัตถุอันตราย อุ้มใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตร ไม่สนผลกระทบต่อสุขภาพ ขัดกฎหมายมาตรา 157

Image result for สารเคมี
เมื่อวันที่ 12 ส.ค.  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2561 ให้วัตถุอันตราย 3 รายการ ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต สามารถใช้ต่อไปได้ ถือเป็นการละเมิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คือการละเว้นหน้าที่ที่ควรทำ เพราะที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมข้อมูลวิชาการผลกระทบเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจ โดยข้อมูลที่ชัดเจน คือ จ.หนองบัวลำภู มีคณะผู้วิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ลงไปศึกษาติดตาม ที่รพ.หนองบัวลำพูมีสถิติโรคเนื้อเน่าตั้งแต่ปี 2557 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาประมาณปีละ 120 ราย ล่าสุด 2560 มีผู้ป่วย 102 ราย เสียชีวิต 6 ราย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับสารเคมีทางการเกษตร และหลายรายที่ไม่เสียชีวิตแต่ต้องตัดแขนตัดขาก็มี ในต่างประเทศสนใจเรื่องนี้มาก ล่าสุด คณะลูกขุนของศาลในนครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สั่งให้บริษัท มอนซานโต ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการเกษตรจ่ายค่าชดเชย 289 ล้านดอลลาร์ ให้กับอดีตผู้ดูแลสนามหญ้าของโรงเรียนที่กำลังจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ที่เกิดจากยากำจัดวัชพืชของบริษัทดังกล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับภาคประชาชน องค์กรต่างๆ รวมทั้งกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุขว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป เพราะถือมติดังกล่าวขัดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ชัดเจน อย่างไรก็ตาม จากที่มีการต่อต้านขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดคล้ายๆ ทบทวนเรื่องนี้ ชื่อว่าคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการ จะประชุมในวันที่ 24 ส.ค.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ต้องดูว่าผลจะออกมาอย่างไร หากสุดท้ายถูกเพิกเฉยอีก ทางนักวิชาการ ภาคประชาชนจะหารือกับญาติผู้เสียหายที่เสียชีวิต และผู้เสียหายที่ถูกตัดแขนขา ผู้ป่วยเป็นมะเร็ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบหมด

จี้รัฐยกเลิกพาราควอต อึ้ง!พบสารพิษตกค้างในนาข้าว



นักวิชาการมธ. จี้รัฐคุมเข้มใช้สารเคมีวัตถุอันตราย 3 ชนิด หวั่นส่งผลกระทบสุขภาพรุนแรงในระยะยาว เจอเกษตรกรผสมสูตรมั่วจนมีปริมาณสารพิษตกค้างในนาข้าว อึ้งพบในเลือดกว่า60%


Image result for ฉีด สารเคมี

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ผศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช และการจัดการเกษตรอินทรีย์ เปิดเผยว่ามีความกังวลเรื่องการรับรู้ของเกษตรกรในเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช 3 ชนิด ภายหลังที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย  มีมติไม่ยกเลิกการใช้วัตถุอันตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโซเฟต โดยสารปราบวัชพืช 3 ชนิดนี้เกษตรกรไทยนิยมไทยกันมากเพราะราคาถูกเห็นผลเร็ว แต่เกิดผลเสียในระยะยาว ส่งผลขั้นรุนแรงทั้งต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม หลายประเทศทั่วโลกจำนวนมากเลิกใช้และ มีมาตรการห้ามใช้ถาวรมากว่า 10 ปี ให้ใช้สารชนิดอื่นเข้ามาทดแทน

“จากที่สำรวจพบเกษตรกรมักใช้สารเคมีในปริมาณเกินกว่าที่ฉลากกำหนด และมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรจังหวัดยโสธร 81 ราย จากทั้งหมด 82 ราย ดังนั้นถึงเวลาที่หน่วยงานดูแลเรื่องนี้  ต้องมีมาตรการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างชัดเจน กำหนดให้ผู้ใช้ต้องมีใบอนุญาต เพื่อจำกัดกลุ่มใช้ ตามขนาดพื้นที่อย่างเคร่งครัด จะต้องมีคณะติดตามผล เพื่อเข้าตรวจสอบ ชี้วัดถึงความอันตรายต่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบแบบรัดกุม ทั้งนี้ในปี 2560 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าสารอันตราย พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโซเฟต เป็นจำนวนกว่า 44,501 ตัน 3,700 ตัน และ 59,872 ตัน ตามลำดับ ”ผศ.ดร.ดุสิต กล่าว

ผศ.ดร.บัณฑิต อนุรักษ์ อ.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีในภาคการเกษตร กล่าวว่า  มีกรณีศึกษาจากเกษตรกรใน อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ได้ใช้สารเคมีหลายชนิด มากกว่า 2 เท่าของค่ามาตรฐานที่ฉลากกำหนด เพราะเกษตรกรไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ยที่ซื้อมาได้ จึงจำเป็นต้องผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีชนิดอื่นในการฉีดพ่น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ฉีดพ่น ที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดกว่า 60% ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด ปริมาณสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟสในนาข้าวและผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกร ทั้งนี้เป็นหน้าที่หน่วยงานเร่งแก้ไขอย่างครบวงจร จะป้องกัน ไม่ให้ถูกหลอกลวงจากการใช้ปุ๋ยปลอม และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำรวจรายได้บริษัทนำเข้าสารเคมี หลังลือ “อ.ยักษ์” ถูกเด้งเซ่นต้าน 3 สารพิษ

สำรวจรายได้บริษัทนำเข้าสารเคมี หลังลือ “อ.ยักษ์” ถูกเด้งเซ่นต้าน 3 สารพิษ
จากกรณีที่มีกระแสข่าวเด้ง นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อ.ยักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังเปิดศึกต้านการใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต, ควอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต นั้น
ล่าสุดได้รับการยืนยันจากนายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ไม่เป็นความจริงพร้อมยืนยันว่า อ.ยักษ์ ยังทำงานตามปกติ
ก่อนหน้านี้ อ.ยักษ์ ได้ลั่นวาจาว่า ผมทำงานเดิมพันด้วยชีวิต ไม่ใช่ด้วยตำแหน่ง แผ่นดินต้องไร้สารพิษในพื้นที่เกษตรกร 4-5 ล้านไร่ กำหนดไว้ 5 ปีสิ้นสุดปี 2564” ซึ่งหากดูประวัติของ อ.ยักษ์ จะพบว่าเคยเป็นอดีตข้าราชการที่ผันตัวไปทำเกษตรอินทรีย์ตามศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่นเอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอุดมการณ์ของ อ.ยักษ์ ที่จะผลักดันให้เกษตรกรไทยทั่วประเทศหันมาทำเกษตรอินทรีย์นั้นมีมากขนาดไหน
แน่นอนการประกาศยกเลิกใช้สารเคมีภัณฑ์เหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าอย่างแน่นอน ซึ่ง Sanook! Money ได้รวบรวมบริษัทผู้นำเข้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ทางด้านเกษตรรายใหญ่ที่มีขนาดใกล้เคียงมาส่อง เพื่อดูรายได้-กำไรกัน
บริษัท เจียไต๋ จำกัด (เครือ CP) แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2526 โดยมีนายจรัญ เจียรวนนท์, นายมนตรี เจียรวนนท์, นายธนินท์ เจียรวนนท์, นายวัลลภ เจียรวนนท์ และนายมิน เธียรวนนท์ เป็นคณะกรรมการ ดำเนินธุรกิจขายส่งปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการย้อนหลัง ดังนี้
ปี 2558 รายได้ 18,190 ล้านบาท กำไร 1,052 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 17,456 ล้านบาท กำไร 1,249 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 16,856 ล้านบาท กำไร 1,175 ล้านบาท
บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 โดยมีนายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย, นายเคเรียล ริชาร์ด ทอร์นทันฐ นายเดชา พาณิชยพิเชฐ ,นายวิชชา สิมศิริ และนางศันสนี ไทยอารี เป็นคณะกรรมการ ดำเนินธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ขั้นมูลฐานอื่นๆ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 7,396 ล้านบาท มีผลประกอบการย้อนหลังดังนี้
ปี 2558 รายได้ 29,542 ล้านบาท กำไร 216 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 29,451 ล้านบาท ขาดทุน 1,658 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 31,517 ล้านบาท ขาดทุน 2,556 ล้านบาท
บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด (เข้าซื้อ บริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด บริษัทที่เกษตรกรคุ้นเคยกันดี) แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2505 โดยมีนายยิม พูน วาห์, นายไซ่ม่อน ทอร์สเทน วีบุช, นายริอาซ อลัม บัคช , นายเจมส์ แพทริค เคนเนลลีย์ และนางภารณี อดุลยพิเชฏฐ์ ดำเนินธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ขั้นมูลฐานอื่นๆ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 465 ล้านบาท มีผลประกอบการย้อนหลัง ดังนี้
ปี 2558 รายได้ 24,043 ล้านบาท กำไร 1,990 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 7,370 ล้านบาท กำไร 253 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 8,195 ล้านบาท กำไร 185 ล้านบาท
ซึ่งการประกาศยกเลิกใช้สารเคมี เป็นการลดทอนกำไรจากการค้าสารเคมีของบริษัทยักษ์ใหญ่และบริษัทอื่นๆที่มียอดขายรวมกัน 70,000 – 80,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว หลังจากนี้คงต้องติดตามกันต่อไปว่าทั้งบริษัทนายทุนที่นำเข้าเคมีภัณฑ์กับหน่วยงานรัฐจะหาจุดกึ่งกลางร่วมกันได้หรือไม่ หรือเราจะได้เห็นการเชือดเฉือนกันอย่างเข้มข้นที่อาจจะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมถอยออกไป

ชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน




ชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน  จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมกับ พ.ต.อ.อภิชาต พุทธบุญ ผู้กำกับการ สภ.เมืองราชบุรี และ นายจำนง จันทรวงศ์ ปลัดอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เข้าตรวจสอบบริษัท มิราเคิล เลเธอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ 9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โรงงานของบริษัทดังกล่าว ได้มีกลิ่นโชยออกมาจากโรงงานเหม็นไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีแรงงานต่างด้าวมาทำงานอยู่ด้วย
          จากการตรวจสอบ พบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก กำลังทำงานอยู่ภายในโรงงาน จึงได้เข้าควบคุมตัวไว้ แต่มีบางส่วนหลบหนีไปได้ โดยสามารถควบคุมตัวมาสอบสวน จำนวน 43 คน แบ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 32 คน โดยทั้งหมดไม่มีบัตรมาแสดงตัวตน อ้างว่าบัตรอยู่ที่นายจ้าง และยังพบแรงงานชาวจีนอีก 11 คน ซึ่งทั้งหมดอ้างว่ามีบัตรพาสปอร์ต เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อจะนำไปปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรมในประเทศของตนเอง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวแรงงานทั้งหมดตรวจสอบว่า มีการเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่นอกจากนี้ ยังพบว่าภายในโรงงานมีเครื่องจักรกล มีสายพานลำเลียงขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิล ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พลาสติก และแผงไฟ ที่มีการคัดแยกแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการเตรียมคัดแยกที่กองไว้และที่บรรจุในถุงรวมแล้วมากกว่าหนึ่งพันตัน โดยบางส่วนถูกนำมาบดอัด และทำเป็นเม็ดพลาสติก
โดย นายอารยะ เนตรวงษ์ หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เผยว่า เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้เข้ามาทำการตรวจสอบที่โรงงานแห่งนี้แล้ว ซึ่งเดิมเคยมีการขออนุญาตประกอบกิจการฟอกหนัง ทำหนังเทียม และมีการคัดแยกขยะ แต่ตรวจสอบก็พบว่ามีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทำการรีไซเคิล ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน ซึ่งประกอบกิจการผิดประเภท และจะต้องทำการตรวจสอบเรื่องของการนำเข้ามาว่าถูกต้องหรือไม่ และมีจำนวนเท่าไหร่
     ล่าสุด ได้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการไปแล้ว แต่มาวันนี้พบว่ายังมีการทำงานอยู่ ก็จะต้องดำเนินคดีต่อไปอีก เพราะฝ่าฝืนคำสั่ง ส่วนขยะพลาสติกที่พบนั้น กำลังให้ทางเจ้าของโรงงานนำเอกสารมาแสดง เบื้องต้น ยังไม่พบใบอนุญาตในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา และประกอบกิจการในส่วนของการบดอัดเม็ดพลาสติกโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงจะต้องแจ้งดำเนินคดีเพิ่มอีก